เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
วันนี้อาจเป็นดินที่ไร้ค่า... วันหน้าอาจเป็นฟ้าที่สูงส่ง...

วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2554

บันทึกครังที่ 17

วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554

สอบปลายภาค!!!
สอบปฏิบัติการสอนในขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
สอนเกี่ยวกับ
-การนับจำนวนปีโป้
-การจัดประเภทสิ่งอันที่มีสีเขียวและไม่มีสีเขียว
โดย เริ่มสอนโดยการเล่าบทบาทสมมุติเพื่อกระตุ้นให้เด็กอยากรู้และสนใจในการเรียนเกี่ยวกับเรื่องที่จะสอน
โดยให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมในการตอบคำถาม และเริ่มนับจำนวนปีโป้ทั้งหมดโดยวางเรียงเริ่มจากด้านซ้ายมือของเด็กเอง และ เริ่มที่จะแยกปีโป้โดยตั้งเกณฑ์ 1 เกณฑ์ ว่าอันที่มีสีเขียวและไม่มีสีเขียวโดยให้เด็กเป็นผู้เลือกเองโดยให้เด็กเลือกคนละ 1 อัน หลายๆคน และร่วมกันนับ และจับคู่ว่าเหลือที่ไม่มีคู่อยู่ประเภทไหนและสรุปว่า อันไหนที่มีจำนวนมากก่วาหรือน้อยก่วาอยู่เท่าใด
ข้อควรปรับปรุง(ปิยนุช ศรศิลป์ ผู้ประเมิน)
*การจะสอนเกี่ยวกับจำนวนที่แตกต่างกันโดยที่จะหยิบคู่ที่ละ 1 จากที่เด็กรู้แล้วควรหยิบเพิ่มหลายจำนวน
*เศษที่เหลือ ควรหยิบสิงตรงข้ามมาจับคู่ให้เด็กดูว่าขาดอีกหนึ่งชิ้นจึงจะมีจำนวนเท่ากับอีกกลุ่มหนึ่ง

บันทึกครังที่ 16

วันพฤหัสบดีที่ 17 กุมภาพันธ์ 2554

อาจารย์สอนเกี่ยวกับขอบข่ายของคณิตศาสตร์สำหรับคณิตสำหรับเด็กปฐมวัย
โดยมีการยกตัวอย่างบนกระดาน และการสนทนา อภิปราย ในชั้นเรียนโดยมีการยกมือแสดงความคิดเห็นด้วย
ทำให้ได้ฝึกการคิด วิเคราะห์และมีส่วนร่วมในชั้นเรียน เกิดการเรียนรู้มากขึ้นด้วย



วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่15

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554
วิเคราะห์สื่อ (เกมการศึกษา) ครอบคลุมขอบข่ายของคณิตศาสตร์อย่างไร
- เกมจับคู่ภาพสัตว์
- เกมจับคู่รอยเท้า
- เกมต่อจิ๊กซอร์รูปผีเสื้อ
- เกมต่อจิ๊กซอร์รูคนข้ามถนน
- เกมต่อจิ๊กซอร์รูปฝนตก
- เกมต่อภาพจำนวนที่เท่ากัน
- เกมพื้นฐานการบวก
- เกมจับคู่ภาพแบบอุปมาอุปไมย
- เกมจัดหมวดหมู่ภาพ ด้านหน้า ด้านข้าง ด้านหลัง
- เกมจับคู่ภาพซ้อน
- เกมจับคู่ภาพที่แทนด้วยสัญลักษณ์


บันทึกครั้งที่14

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554
สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวน และการดำเนินการ
ความสำคัญทางคณิตศาสตร์ เป็นหลักการที่ต้องการปลูกฝังให้แก่เด็กผู้สอนควรศึกษาสาระสำคัญทางคณิตศาสตร์ของแต่ละสาระ ในกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และเพื่อให้เข้าใจตรงกัน
จำนวนนับใช้บอกจำนวนของสิ่งต่างๆ
จำนวนที่นับ 1 2 3 4 5 เป็นจำนวนที่นับเพิ่มขึ้นทีละหนึ่งตามลำดับ ศูนย์ไม่ใช่จำนวนนับ
ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแสดงจำนวน
สัญลักษณ์พื้นฐานที่ใช้เขียนแสดงจำนวน เรียกว่า เลขโดดในระบบฐานสิบมี 10 ดังนี้
ตัวเลขอินดูอารบิก ได้แก่ 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
ตัวเลขไทย ได้แก่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๑๐
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูล และความน่าจะเป็น

บันทึกครั้งที่13


วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม 2554
แบ่งกลุ่ม 6 กลุ่ม
- คิดหน่วยการเรียนรู้ แล้วทำ Mind Map
- นำขอบข่ายของคณิตศาสตร์ไปใช้ในกิจกรรม
- คิดกิจกรรมการสอนเป็น 4 วัน แล้วเขียนแผนการจัดประสบการณ์

บันทึกครั้งที่12

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม 2554
คำศัพท์ทางคณิตศาสตร์
เช่น ตัวเลข ขนาด รูปร่าง ตำแหน่ง ค่าของเงิน อุณหภูมิ
หลักการสอนคณิตศาสตร์
- เข้าใจพัฒนาการเด็ก
- เข้าใจธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็ก

บันทึกครั้งที่11

วันเสาร์ที่ 15 มกราคม 2554
อาจารย์นำตัวอย่างบทเพลง คำคล้องจองต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์มาให้ศึกษาร่วมกัน โดยมีการสนทนา แสดงความคิดเห็นเพื่อเชื่อมโยงหลักการสอนคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย

บันทึกครั้งที่10


วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม 2554
ความรู้ด้านคณิตศาสตร์
จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์
ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
หลักการสอนคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย

และจากการไปสังเกตการณ์ที่โรงเรียนเกษมพิทยา แผนกอนุบาล ได้สังเกตอนุบาล3/2 ในการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ก็คือ
1. การเขียนวันที่ โดยจะมีการนับจำนวนหลอดของแต่ละวันและเขียนตัวเลขมีการให้เด็กทั้งห้องช่วยกันนับวันที่จนถึงวันที่ปัจจุบัน
2.การนับจำนวนผลไม้ที่เพื่อนๆนำมาทุกวันอังคารจัดเป็นวันผลไม้และมีการเขียนสรุปจำนวนผลไม้ทั้งฟมด ขณะนับจะมีการแยกเป็นประเภพโดยเด็กจะช่วยกันนับ
3. การเรียนโยคะ ในเรืองของตำแหน่งการยืน การทรงตัวของแต่ละคน

บันทึกครั้งที่9

วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม 2553
ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นช่วงสอบกลางภาค 2/2553

บันทึกครั้งที่8

อาจารย์สอนเกี่ยวกับคำศัพท์คณิตศาสตร์ ได้แก่ ตัวเลข ที่ตั้ง อุณหภูมิ ขนาด รูปร่าง ความเร็ว (เวลา)

-คำศัพท์ที่เด็กควรทราบ
-การวัดเรื่องเกี่ยวกับเวลา
-ระบบเมตริก

บันทึกครั้งที่6-7

ตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน - 14 ธันวาคม 2553
ฝึกปฏิบัติการวิชาชีพครู1 (Practicum1) ณ โรงเรียนเกษมพิทยา
นักศึกษาชั้นปีที่3 ออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาปฎิบัติการวิชาชีพ1. (Practicum 1) ที่ต้องการให้นักศึกษาฝึกการสังเกตการณ์ในชั้นเรียน สังเกตพฤติกรรมการเล่น การเรียน การเข้าร่วมกิจกรรม ฝึกให้นักศึกษาสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ และสามารถปรับตัวในการอยู่ร่วมกับเด็กก่อนออกประกอบอาชีพในอนาคต ซึ่งได้เจอกับประสบการณ์จริงๆ ในการไปในครั้งนี้ ได้ประโยชน์มาก เพราะได้สัมผัสกับเด็กที่มีรูปแบบแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเด็กปกติหรือเด็กพิเศษเมื่อได้เข้าไปสัมผัสแล้วสามรถนำกลับมาใช้ในการเรียนแต่ละวิชาได้ เป็นประสบการณ์สำคัญหนึ่งที่มีคุณค่ามาก ในการไปศึกษา2อาทิตย์ นี้

บันทึกครั้งที่5

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน 2553
ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

บันทึกครั้งที่ 4

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน 2553
ออกไปศึกษาดูงานนิทรรศการที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
โดยมีคุณครูของแต่ละโรงเรียนคอยให้ความรู้ คำแนะนำเกี่ยวกับโรงเรียนรวมทังการจัดการเรียนการสอนของแต่ละโรงเรียน และมีซุ้ม ผลงาน ของโรงเรียนให้ชมกันอย่างถ้วนหน้า

บันทำกครั้งที่ 3

วันเสาร์ ที่ 13 พฤษจิกายน 2554
*เรียนชดเชยจากการเรียนตามตารางปกติ
อาจารย์อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการทำBlog
1.การบันทึกองค์ความรู้ทุกครั้ง
2.การใส่Mind Mapลงในblog
3.การใส่รูปภาพเป็นSlide

การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
1. เขียนสิ่งคาดหวังที่จะได้รับจากการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2. อธิบายความหมายของคณิตศาสตร์
การจัดการเรียนการสอนต้องคำนึงถึงพัฒนาการของเด้กวัยอนุบาลซึ่งอยากรู้อยากเห็นอยู่ไม่นิ่ง
คณิตศาสตร์นั้นคือการคิดรวบยอด คิดมโนภาพ คิดเชื่อมโยง เป็นเหตุเป็นผล แก้ปัญหา การคาดคะเน ใช้สัญลักกษณ์แทนตัวเลข เป็นตัวกำกับ โจทย์ตัวเลข โจทย์ปัญหา และถามปากป่าว ยังจำเป็นในการดำเนินชีวิตเพราะเกี่ยวของมีความสำคัญมาก
ควรใช้คำถามแนวกระตุ้นให้เด็กเกิดการคิด แสดงออกมาว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ขึ้นอยู่กับคำตอบที่หลากหลายของเด็กแต่ละคน
*ได้คิดหาคำตอบจากการใช้ก้านไม้ขีด 10 ก้าน ให้เป็นจำนวนตัวเลข 9+1=10 แล้วเปลี่ยนคำตอบเป็น 7
*แผ่นตาราง1 แผ่น ทำเป็นรูปทรงต่างๆได้กี่แบบตารางหน่วยต่อกันโดยมีด้านประกอบ 1 ด้านติดกัน